เกี่ยวกับทิพยประกันชีวิต
ลักษณะการประกอบธุรกิจ
ประเภทผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
1. การประกันชีวิตประเภทสามัญ (Ordinary Life Insurance)
เป็นการประกันชีวิตสาหรับผู้เอาประกันภัยรายบุคคล ซึ่งมุ่งเน้นตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยโดยผู้เอาประกันภัยสามารถวางแผน อนาคตเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงได้อย่างสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคลในทุกช่วงเวลาของชีวิต เพราะแผนการประกันชีวิตประเภทสามัญมีมากมาย หลายรูปแบบ แต่ละแบบจะมีลักษณะผลประโยชน์ด้านความคุ้มครองชีวิต ด้านการออมทรัพย์มีระยะเวลาเอาประกันภัย และระยะเวลาการชาระเบี้ยประกันภัยที่แตกต่าง กันออกไป ประกอบด้วย
1.1 การประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)
เป็นการประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองระยะยาวตลอดชีพ ที่เน้นการให้ผลประโยชน์ด้านความคุ้มครองชีวิตเป็นหลัก หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเมื่อใดใน ขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลบังคับ บริษัทฯ จะจ่ายจานวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่ครบกาหนดสัญญา เช่น อายุครบ 90 ปีก็ได้รับเงินเอาประกันภัยคืน ดังนั้น วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการประกันชีวิตแบบตลอดชีพนี้ เพื่อสร้างกองทุนมรดก หรือจัดหาเงินทุนสาหรับจุนเจือบุคคลที่อยู่ใน อุปการะเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตลง
1.2 การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)
เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทฯ จะจ่ายจานวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อยังมีชีวิตอยู่ครบกาหนดสัญญาหรือจ่ายเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับ ประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับอยู่ การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์มีส่วนผสมของความคุ้มครองการเสียชีวิตและการออมทรัพย์ซึ่ง แบบประกันชีวิตนี้จะมุ่งเน้นการให้ผลประโยชน์ด้านการออมทรัพย์เป็นหลัก ดังนั้น การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์จึงมีเงินคืนหลายรูปแบบ ทั้งเงินคืนในระหว่างสัญญา และเมื่อสัญญาครบกาหนดรวมถึงมีระยะเวลาสัญญาและชาระเบี้ยที่ระยะเวลาหลายหลายให้เลือกทาประกันตามวัตถุประสงค์ด้านการออมทรัพย์ของผู้เอาประกันภัย
1.3 การประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance)
เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทฯ จะจ่ายจานวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับอยู่ โดยทั่วไป กรมธรรม์จะมีระยะเวลาความคุ้มครอง 5 ปี10 ปี15 ปี หรือ 18 ปี เป็นต้น ซึ่งแบบการประกันชีวิตจะมุ่งเน้นการให้ผลประโยชน์ด้านความคุ้มครองชีวิตเป็นหลัก ไม่มี ผลประโยชน์ของการออมทรัพย์เบี้ยประกันภัยจึงต่ ากว่าแบบประกันชีวิตประเภทสามัญอื่นๆ และไม่มีเงินคืนให้หากผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่ครบกาหนดสัญญา จึง เหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสูงแต่ชาระเบี้ยประกันภัยต่ า เพื่อเสริมสร้างกองทุนป้องกันไม่ให้เกิดภาระหนี้สินกับครอบครัวที่อยู่ข้างหลังหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ก่อนเวลาอันควร
1.4 การประกันชีวิตแบบบานาญ (Annuity Insurance)
เป็นการประกันชีวิตสาหรับผู้เอาประกันภัยที่ประสงค์จะวางแผนการออมเงินเพื่อสร้างหลักประกันทางรายได้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ใช้จ่ายอย่างเพียงพอ หลังจากการเกษียณอายุ บริษัทฯ จะจ่ายผลประโยชน์เงินบานาญเป็นรายงวดอย่างสม่ าเสมอต่อเนื่องไปตลอดระยะเวลาสัญญา นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุหรือมี อายุครบ 55 ปีหรือ 60 ปี แล้วแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กาหนดไว้ทั้งนี้ การประกันชีวิตแบบบานาญจะไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นใดก่อนรับเงินบานาญ ยกเว้น ผลประโยชน์จากการเสียชีวิต ซึ่งบริษัทฯ จะจ่ายตามจานวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์
2. การประกันชีวิตประเภทกลุ่ม (Group Insurance)
2.1 ประกันชีวิตกลุ่มสวัสดิการ (Group Term Life)
เป็นการประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองกลุ่มสมาชิกภายใต้กรมธรรม์ฉบับเดียวกัน โดยทั่วไปจะเป็นสวัสดิการที่นายจ้างซื้อความคุ้มครองให้กับลูกจ้าง ปกติ นายจ้างจะเป็นผู้ชาระเบี้ยประกันภัยให้ทั้งหมด หรือช่วยจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง แต่การประกันชีวิตกลุ่มนี้จะมีเงื่อนไข คือ สมาชิกผู้เอาประกันภัยร่วมกันตั้งแต่10 คนขึ้นไป หรือ ร้อยละ 75 ของจานวนพนักงานทั้งหมด ส่วนมากจะเป็นกลุ่มของพนักงานบริษัท กรมธรรม์เป็นสัญญาแบบปีต่อปี อัตราเบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับทุนประกันภัย จานวน สมาชิก เพศ อายุเฉลี่ยของสมาชิกทั้งหมด ลักษณะธุรกิจ และหน้าที่การทางาน โดยจะคานวณเป็นอัตราเบี้ยประกันภัยอัตราเดียวสาหรับสมาชิกทุกคนในกลุ่มนั้นๆ ซึ่ง อัตราเบี้ยประกันภัยจะต่ ากว่าการประกันชีวิตประเภทสามัญ การชาระเบี้ยประกันภัยสามารถแบ่งชาระเป็นงวดรายเดือน ราย 3 เดือน หรือรายปีก็ได้
2.2 ประกันชีวิตกลุ่มคุ้มครองสินเชื่อ (Group Mortgage)
เป็นการประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัย (ผู้กู้) ที่มีภาระหนี้สินอยู่กับสถาบันการเงิน (เจ้าหนี้) โดยทั่วไปจะให้ความคุ้มครองกรณีการเสียชีวิตหรือการ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง มีระยะเวลาความคุ้มครองและทุนประกันภัยที่สอดคล้องกับระยะยเวลาการผ่อนชาระและภาระหนี้สิน ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นระหว่าง การผ่อนชาระหนึ้กับผู้เอาประกันภัยและกรมธรรม์ยังมีผลบังคับ บริษัทฯ จะเป็นผู้ปลดหรือแบ่งเบาภาระหนี้สินค้างชาระแทนทายาทของผู้เอาประกันภัย เพื่อปกป้อง ครอบครัวที่อยู่ข้างหลังจากปัญหาหนี้สิน หรือการถูกยึดทรัพย์และเพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมั่นใจได้ว่ากรรมสิทธ์ิในทรัพย์สินนั้นจะยังคงเป็นของทายาทและครอบครัว ต่อไป โดยสถาบันการเงิน (เจ้าหนี้) จะเป็นผู้ถือกรมธรรม์หลักและเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามจานวนภาระหนี้คงค้างชาระที่ผู้เอาประกันภัยยังคงเหลืออยู่กับสถาบัน การเงินนั้นๆ